วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"ภาษาบอกรัก''

"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน.

      เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอภาษาบอกรักของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย  
ภาษาไทย                 - ฉันรักเธอ 
ภาษาลาว                 - ข้อยฮักเจ้า
ภาษาพม่า                - จิต พา เด (chit pa de)
ภาษาเวียดนาม          - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
ภาษาเขมร               - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)
 ภาษามาเลย์              - ซายา จินตามู (Saya cintamu)
 ภาษาอินโดนีเซีย    ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
 ภาษาตากาล็อก          - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
 ภาษาจีนกลาง           - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
 ภาษาญี่ปุ่น               - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)
 ภาษาเกาหลี             - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo) 




กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter).


กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter).
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก
     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง
     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ
     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม
     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ
     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

มรดกโลกในอาเซียน

มรดกโลกในอาเซียน.
 "อ่าวฮาลอง" (Halong Bay).

      อ่าวฮาลอง (Vinh Ha Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
 อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537
''อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู'' (Gunung Mulu National Park).
         อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร และสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543

"เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง"
(Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries).

     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,875 ไร่  อยู่ภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งแห่งนี้ คือ คุณสืบ นาคะเสถียร
    มีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นธารของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ (77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 50% ของนก และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์) โดยที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
"นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์"(Rice Terraces of the Philippine Cordilleras).
    นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
      จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง "ความสูง" เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ "ความเอียงของพื้นที่" จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538
"กลุ่มวัดบรมพุทโธ" (Borobuder Temple Compounds).
    มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
     บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ  ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

บุโรพุทโธได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534

"สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน''.

           สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว      แล้ว 3 แห่ง คือ
          สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537              สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550 
         สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554
"นครประวัติศาสตร์วีกัน" (Historic Town of Vigan).
          เมืองวีกันเป็นเมืองริมทะเลด้านตะวันตกของเกาะลูซอน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ห่างจากซานเฟร์นันโด รวม 140 กม. วีกันเป็นเมืองที่สเปนเคยมาตั้งค่ายไว้ มีบ้านเรือนเก่าแก่ทรงสเปน ที่ยังสภาพสมบูรณ์อยู่มากในเขตเมืองเก่า มีโบสถ์เก่าแก่ และมีตำบลใกล้ๆริมทะเล และยังมีที่พักดั้งเดิมบนตึกเก่าแก่น่าพักอีกมากมายรอบๆ เขตเมืองเก่า ถนนและตึกแบบสเปน วีกันสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21) เป็นตัวอย่างของการวางผังเมืองที่ดียุคอาณานิคมสเปนในเอเชีย สถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นการนำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมจากที่อื่นมารวมไว้ที่ฟิลิปปินส์ เช่น จากจีนและจากยุโรปเป็นผลให้เกิดวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ถนนในเมืองนี้จึงอนุญาตเฉพาะรถม้าเท่านั้น
เมืองวีกันได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2542






















วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาหารยอดนิยมในอาเซียน

อาหารยอดนิยมในอาเซียน.
อัมบูยัต”(Ambuyat).











เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศบรูไนดารุสซาลาม  
      มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว

อาม็อก”(Amok).
เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา      มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง อาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่าย


กาโด กาโด”(Gado Gado).


เป็นอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซีย  
     อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งใกล้เคียงกับสลัดแขก ของประเทศไทย

 “ซุปไก่”(Chicken Soup).


เป็นอาหารยอดนิยมของลาว  
       แกงรสชาติหวานอร่อยกลมกล่อม ที่มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว เผ็ด จากมะนาวและพริก รับประทานร้อนๆ กับข้าวเหนียว ได้คุณค่าทางโภชนาการอาหารและความอร่อยไปพร้อมๆ กัน




"หล่าเพ็ด" (Lahpet).
เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า
       หล่าเพ็ด คือ ใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น จัดว่าเป็นอาหารว่างคล้ายกับยำเมี่ยงคำของไทย หล่าเพ็ดถือว่าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญๆ รวมทั้งงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง










ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้

ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ 
1).เนการาบรูไนดารุสซาลาม (NEGARA BRUNEI DARUSSALAM).

พื้นที่   :  5,765 ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว   
เมืองหลวง :  บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ประชากร  :  395,027 คน
ภาษาราชการ  :  มาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา      อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
ระบอบการปกครอง :  สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันชาติ   : 23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์ ( 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

สินค้านำเข้าสินค้า  : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น


2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA).



พื้นที่          : 181,035 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง     : กรุงพนมเปญ
ประชากร      : 14.45 ล้านคน
ภาษาราชการ  : ภาษาเขมร
ศาสนา        : พุทธเถรวาท (มหานิกาย 90% และธรรมยุตินิกาย 10%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ประมุข         : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
วันชาติ         : 9 พฤศจิกายน
หน่วยเงินตรา  : เรียล  (1 เรียล ประมาณ 0.0083 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมช่วงเวลาค่ำ

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ    : ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้าส่งออกสำคัญ   :  เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
ตลาดส่งออกที่สำคัญ :  สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ  : จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย และไต้หวัน



3).สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA).

พื้นที่
           : 5,070,606 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง      : กรุงจาการ์ตา  
ประชากร       : 245.5 ล้านคน
ภาษาราชการ   : บาร์ฮาซา อินโดนีเซีย
ศาสนา         : อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) อื่นๆ (1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข         : ดร. ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
วันชาติ         : 17 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา  : รูเปียห์  (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 38 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis




ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้  
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา 
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)
 

พื้นที่             : 236,880 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง       : นครหลวงเวียงจันทร์  
ประชากร         : ประมาณ 6 ล้านคน
ภาษาราชการ     : ภาษาลาว
ศาสนา           : พุทธ (75%) อื่นๆ (16-17%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข           : พลโท จูมมาลี ไซยะสอน  ประธานประเทศ สปป. ลาว
วันชาติ           : 2 ธันวาคม
หน่วยเงินตรา    : กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ)                     
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต



ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
สินค้านำเข้าสำคัญ    : รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ  : ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี 
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

5.มาเลเซีย ( MALAYSIA)

พื้นที่: 329,758  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงกัวลาลัมเปอร์  
ประชากร : 28.9 ล้านคน
ภาษาราชการ : มาเลย์
ศาสนา : อิสลาม (60%)  พุทธ (19%) คริสต์ (12%) อื่นๆ (9%)
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาห์
วันชาติ : 31 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา : ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
สินค้านำเข้าสำคัญ    : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยา น้ำมันปาล์ม 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง

6).สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (REPUBLIC OF THE UNION OF THE MYANMAR).

พื้นที่              : 657,740  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง        : นครเนปิดอร์
ประชากร          : 57.5 ล้านคน
ภาษาราชการ      : พม่า         
ศาสนา            : พุทธ (90%) คริสต์ (5%) อิสลาม (3.8%) ฮินดู (0.05%)
ระบอบการปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข            : พลเอก เต็ง เส่ง
วันชาติ            : 4 มกราคม
หน่วยเงินตรา     : จั๊ต (1 USD ประมาณ 1,200 จั๊ต)
ดอกไม้ประจำชาติ  : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
สินค้านำเข้าสำคัญ          : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
สินค้าส่งออกที่สำคัญ       : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ        : จีน สิงคโปร์ ไทย
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน

7).สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES).

พื้นที่ : 298,170  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ประชากร : 98 ล้านคน
ภาษาราชการ : ตากาล๊อก และภาษาอังกฤษ
ศาสนา : โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%) อิสลาม (5%) อื่นๆ (3%)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
หน่วยเงินตรา  : เปโซ ( 100 เปโซ ประมาณ 49 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Sampaguita Jasmine มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดปี แย้มดอกตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมหลัก : เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์

 8).สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE).

พื้นที่: 694.4  ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์ 
ประชากร : 4.6 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ
ศาสนา : พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (24%)
ระบอบการปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : นายโทนี่ ตัน เค็ง ยัม
นายกรัฐมนตรี : ลี เซียนลุง 
หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 24.39 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย

9).ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND).
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร 
ประชากร : ประมาณ 64 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
ศาสนา : พุทธ (94.6%) อิสลาม (4.6%) คริสต์ (0.7%) อื่นๆ (0.1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา : บาท   
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์

ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ และข้าว
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง

10).สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)

พื้นที่ : 331,690 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงฮานอย 
ประชากร : ประมาณ 89.57 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
ศาสนา : พุทธ (มหายาน)                           
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประธานาธิบดี : เจือง เติ๋น ซาง
หน่วยเงินตรา : ด่อง ( 1,000 ด่อง ประมาณ 1.10 บาท)
วันชาติ : 2 กันยายน
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว







ข้อมูลทางเศรษฐกิจ 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป