กำเนิดอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย
มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา
(ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง
เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย
และการเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาของไทย
จนเมื่ออินโดนีเซียและมาเลเซียฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน
จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค
"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด
คอมันตร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ"
(Bangkok
Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่ วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3.นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4.นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3.นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4.นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ
เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ในปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน
คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น