วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มรดกโลกในอาเซียน

มรดกโลกในอาเซียน.
 "อ่าวฮาลอง" (Halong Bay).

      อ่าวฮาลอง (Vinh Ha Long) หรือ ฮาลอง เบย์ (Halong Bay) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อในภาษาเวียดนาม หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง"
      อ่าวฮาลองมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะ โผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกัดบา และเกาะ Tuan Chau ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร มีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น
 อ่าวฮาลองได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537
''อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู'' (Gunung Mulu National Park).
         อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung Mulu National Park) เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ติดกับชายแดนของประเทศบรูไน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในด้านชีววิทยาและธรณีวิทยาเป็นอย่างมาก มีพันธุ์พืชกว่า 3,500 ชนิด และมีพันธุ์ปาล์มกว่า 109 ชนิด ในด้านธรณีวิทยาเป็นภูมิประเทศแบบ Karst หรือภูมิประเทศแบบหินปูน มีพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ หน้าผาสูงชัน ยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างซึ่งกลายเป็นถ้ำในแนวดิ่งหรือแนวเฉียง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นโพรงยาว ปากถ้ำแคบ ภายในถ้ำกว้าง ผนังและเพดานถูกปกคลุมด้วยหินงอกหินย้อย และเกิดถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ “ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์” (Sarawak chamber) ซึ่งมีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร และสูง 80 เมตร คำนวณพื้นที่แล้วสามารถบรรจุเครื่องบิน Boeing 747 จำนวนหลายลำได้เลยทีเดียว
อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2543

"เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง"
(Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries).

     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 6,222 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,888,875 ไร่  อยู่ภายในเขตจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งแห่งนี้ คือ คุณสืบ นาคะเสถียร
    มีอาณาเขตทอดยาวอยู่บนแนวเทือกเขาถนนธงชัยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นธารของแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ (77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 50% ของนก และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์) โดยที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบนิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
"นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์"(Rice Terraces of the Philippine Cordilleras).
    นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ การแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
      จุดเด่นของที่นี่ คือเป็นสุดยอดทั้งในเรื่อง "ความสูง" เนื่องจากอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร และ "ความเอียงของพื้นที่" จุดที่ลาดชันมากที่สุดเอียงถึง 70 องศา และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีระบบการทำเขื่อนกั้นน้ำและการระบายน้ำที่ซับซ้อน โดยใช้เพียงท่อที่ทำจากไม้ไผ่เป็นตัวกั้นน้ำให้ผืนนาขั้นบันไดทั้งหมดมีน้ำท่วมขังเพียงพอสำหรับการทำนาข้าวอันน่าทึ่งนี้ได้ตลอดมา
นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2538
"กลุ่มวัดบรมพุทโธ" (Borobuder Temple Compounds).
    มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
     บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ  ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้น บนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

บุโรพุทโธได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534

"สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน''.

           สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว      แล้ว 3 แห่ง คือ
          สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537              สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550 
         สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554
"นครประวัติศาสตร์วีกัน" (Historic Town of Vigan).
          เมืองวีกันเป็นเมืองริมทะเลด้านตะวันตกของเกาะลูซอน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ห่างจากซานเฟร์นันโด รวม 140 กม. วีกันเป็นเมืองที่สเปนเคยมาตั้งค่ายไว้ มีบ้านเรือนเก่าแก่ทรงสเปน ที่ยังสภาพสมบูรณ์อยู่มากในเขตเมืองเก่า มีโบสถ์เก่าแก่ และมีตำบลใกล้ๆริมทะเล และยังมีที่พักดั้งเดิมบนตึกเก่าแก่น่าพักอีกมากมายรอบๆ เขตเมืองเก่า ถนนและตึกแบบสเปน วีกันสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21) เป็นตัวอย่างของการวางผังเมืองที่ดียุคอาณานิคมสเปนในเอเชีย สถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นการนำองค์ประกอบทางวัฒนธรรมจากที่อื่นมารวมไว้ที่ฟิลิปปินส์ เช่น จากจีนและจากยุโรปเป็นผลให้เกิดวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ของเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ถนนในเมืองนี้จึงอนุญาตเฉพาะรถม้าเท่านั้น
เมืองวีกันได้รับการลงทะเบียนมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2542






















1 ความคิดเห็น: